กระทรวงสาธาระสุขออกมาเปิดเผยแล้วว่า.. 10 จังหวัด ที่เป็นแชมป์อ้วนลงพุง และป่วยด้วยโรคเรื้อรังมากที่สุด โดยวิเคราะห์สถานการณ์การเจ็บป่วยของคนไทย ตั้งแต่ปี 2550-2551 พบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ทั้ง เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, หัวใจขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง ซึ่งได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทั่วประเทศกว่า 2 ล้านรายต่อปี โดยมากที่สุดคือ โรคความดันโลหิตสูง มีมากกว่า 1 ล้านรายต่อปี และยังมีโรคแทรกซ้อนตามมา คือ ไตวาย, อัมพฤกษ์, อัมพาส และโรคหัวใจ ซึ่ง แนวโน้มความเจ็บป่วยนั้นก็สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากไม่มีการควบคุมอาจสงผลกระทบถึงระบบเศรษฐกิจได้ ซึ่งจะทำให้สูญเสียผลผลิตโดยรวมของประเทศ ในเรื่องของการรักษาโรคถึง 4,200 ล้านบาท และเชื่อว่าในอีก 6 ปีข้างหน้า (2558) จะสูญเสียมากขึ้นถึง 52,150 ล้านบาท กรมอนามัยจึงลงพื้นที่สำรวจ 10 จังหวัด ที่ติดอันดับแชมป์ "อ้วน" ที่สุดของประเทศ 10 จังหวัด ที่ติดอันดับแชมป์ "อ้วน" ที่สุดของประเทศ ได้แก่ 6. ชลบุรี 7. อุตรดิต 8. ลพบุรี 9. นนทบุรี 10. สุราษธานี ดัง นั้นทางกรมอนามัยจึงร่วมรณรงค์ให้คนไทยรู้จักควบคุมน้ำหนัก เพื่อป้องกันการเกิดโรคอ้วน ซึ่งเป็นต้นเหตุที่จะทำให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมา โดยจัดทำโครงการ "จังหวัดไร้พุงมุ่งสู่สุขภาพดี" ท่านอธิบดี กรมอนามัย คุณหมอ ณรงศักดิ์ ท่านได้เสนอมาว่า.. กิจกรรมเพศสัมพันธ์ ถือเป็นกีฬาในร่มผ้าที่ลดน้ำหนักได้ดี ได้จากผลสำรวจแผนรองรับนานาชาติในยุโรปที่ประกาศไว้อย่างชัดเจน ซึ่งการมีกิจกรรมนี้ 1 ชั่วโมง สามารถลดไขมันได้ถึง 180 กิโลแคลรอรี่ = ก๋วยเตี๋ยว 1 ชาม เพราะว่าเป็นการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และใช้พลังงานอย่างหนัก เลยทำให้น้ำหนักลดลงในระดับที่ดีได้ หากผู้ที่ทำกิจกรรมไม่ได้ทานอะไรหลังเสร็จสิ้น ก็เชื่อว่า..จะพิชิตความอ้วนได้ผล (ช่างล่อแหลมจริงๆ) แต่เพื่อนๆ ก็อย่าลืม 3 อ. นะค่ะ ในการช่วยลดน้ำหนัก คือ อาหาร, ออกกำลังกาย และอุปนิสัยในการรับประทาน ซึ่งสิ่งเรานี้นั้นสามารถช่วยเพื่อนๆ ได้ในการลดน้ำหนัก
1. ชัยภูมิ
2. ประจวบขีรีขันธ์
3. แม่ฮ่องสอน
4. เพรชบูรณ์
5. นครราชศรีมา
10 จังหวัด ที่ติดอันดับแชมป์ อ้วน ที่สุดในประเทศไทย
คนอ้วน ระวัง ไขมันคั่งในตับ
ไขมันรอบเอวทำให้อายุสั้น ร้ายกาจยิ่งกว่าน้ำหนักตัวของทั้งหมด
ไขมันรอบเอวทำให้อายุสั้น ร้ายกาจยิ่งกว่าน้ำหนักตัวของทั้งหมด ทำเป็นเล่นไป คนมีพุงดันมีอันตรายมากมาย สามารถทำให้อายุสั้นเลยเชียว แพทย์ได้บทเรียนจากการศึกษาชาวยุโรปจาก 9 ชาติจำนวนเกือบ 360,000 ราย ว่าอย่าได้ดูถูกปริมาณไขมันที่สะสมอยู่ข้างเอว เพราะอาจทำให้อายุสั้นลงได้อย่างน่าพรั่นพรึง ไม่ว่าน้ำหนักตัวทั้งหมดจะปกติ พวกเขาได้พบว่าขนาดรอบเอว เป็นเครื่องชี้ถึงการเสี่ยงอันตรายที่ทรงอานุภาพ เพียงแต่มันโตขึ้นอีก 2 นิ้ว หรือ 5 ซม. จะทำให้เสี่ยงกับการตายก่อนวัยอันควร มากขึ้นอีกระหว่างร้อยละ 13-17 ได้ วารสารการแพทย์นิว อิงแลนด์ ได้ย้ำเตือนให้แพทย์หมั่นวัดขนาดรอบเอวของคนไข้เอาไว้เป็นปกติ เพราะเป็นวิธีประเมินสุขภาพที่ถูกและง่ายอย่างหนึ่ง เคยมีการศึกษาพบความสำคัญของความสัมพันธ์ของไขมันรอบเอวกับสุขภาพมาก่อนบ้างแล้ว หากแต่การศึกษายังมีขนาดเล็กเกินกว่าที่จะมองเห็นภาพชัดเจน รายที่จัดว่ามีความเสี่ยงสูงสุด คือผู้ชายที่มีขนาดเอวเกิน 47 นิ้ว มีความเสี่ยงที่จะตายก่อนวัยอันควร มากกว่าเพื่อนที่มีขนาดเอวไม่ถึง 31.5 นิ้ว ถึง 2 เท่า และหากเป็นผู้หญิง ผู้ที่มีขนาดเอวเกินกว่า 39 นิ้ว ก็มีความเสี่ยงสูงกว่าเพื่อนที่เอวบางกว่าขนาดไม่ถึง 25.5 นิ้ว อ่า น้อง ๆ ทั้งหลาย ใครเริ่มแอบมีพุงน้อย ๆ โผล่ออกมา รีบไปลดด่วนเลยนะครับ
ถ้าคุณคือคนอ้วน คิดไว้ได้เลยว่าคุณอาจมีไขมันในเลือดสูงมาก
มีหลายบทความในเว็บสุขภาพต่างๆเกี่ยวกับไขมันในเลือด จนผมแทบไม่ต้องแนะนำแล้ว แต่เมื่ออ่าน ดูเห็นว่าเว็บส่วนใหญ่มิได้ลงรายละเอียดเกี่ยวกับการรักษานัก อีกทั้งพบว่ามากกว่า 50 % ของคน กรุงเทพฯ มีระดับไขมัน Cholesterol มากกว่า 240 มิลลิกรัมต่อดล. ซึ่งสูงทีเดียว จึงขอนำมาเล่า ให้ฟังอีกครั้ง
ไขมันในเลือดมีอะไรบ้าง
ไขมันในเลือดมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด แต่ละชนิดมีความสัมพันธ์กับโรคหัวใจขาดเลือด การเกิดภาวะ หลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) แตกต่างกันไปบ้าง ไขมันที่มีความสำคัญ มีดังนี้
คอเลสเตอรอล (Cholesterol)
เป็นไขมันที่มีความจำเป็นสำหรับเซลต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลสมอง เซลประสาท ร่างกายสามารถสังเคราะห์ไขมันนี้ได้เองที่ตับ (ผู้ป่วยโรคตับ หรือ มะเร็ง จึงมีคอเลสเตอรอลต่ำ) และ ได้จากอาหารด้วย อาหารที่มีไขมันคอเลสเตอรอลสูง ได้แก่ อาหารมันๆต่างๆ โดยเฉพาะที่ได้จาก ไขมันสัตว์ เช่น เนื้อติดมัน หมูติดมัน หมูสามชั้น ข้าวมันไก่ ขาหมู เครื่องใน หนังเป็ด หนังไก่ ไข่แดง ไข่ปลา กุ้ง ปลาหมึก หอยนางรม แกงกะทิ เป็นต้น
เมื่อไปเจาะเลือดเพื่อตรวจคอเลสเตอรอล ส่วนใหญ่จะเป็นการตรวจ คอเลสเตอรอลรวม (Total cholesterol) แต่ความจริงแล้ว ยังมีคอเลสเตอรอลย่อยๆอีก คือ แอล-ดี-แอล (LDL-Cholesterol) วี-แอล-ดี-แอล (VLDL-Cholesterol) เอช-ดี-แอล (HDL-Cholesterol)
LDL-C
จัดเป็นไขมัน"ตัวร้าย"ที่ทำให้เกิดการสะสมของไขมันในผนังของหลอดเลือดแดงทั้งร่างกาย เช่น สมอง (เกิดอัมพาต) หัวใจ (เกิดโรคหัวใจขาดเลือด) ไต (เกิดไตวาย) อวัยวะเพศ (หย่อนสมรรถ ภาพทางเพศ) เป็นต้น พบว่าความผิดปกติเหล่านี้สัมพันธ์กับระดับ Total cholesterol และ LDL-C อย่างมาก
HDL-C
ตรงข้ามกับ LDL-C ไขมัน HDL-C นี้เป็น"พระเอก"ช่วยนำเอาไขมันที่สะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือด ออกมา แต่ทำงานช้ากว่าผู้ร้ายเสมอ ระดับไขมัน HDL-C ต่ำจะเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด ในทาง กลับกันหากยิ่งสูงยิ่งดี ช่วยป้องกันโรคนี้ เราสามารถเพิ่ม HDL-C ให้สูงได้ด้วย การหยุดบุหรี่ ออก กำลังกายแบบแอโรบิคสม่ำเสมอ ลดน้ำหนัก ยาบางชนิด ดื่มแอลกอฮอล์จำนวนเล็กน้อย (แต่ผมไม่ แนะนำ) HDL-C นี้ก็ถูกควบคุมโดยพันธุกรรมเช่นกัน ดังนั้นบางรายทำอย่างไร HDL-C ก็ไม่สูงขึ้น
ไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides)
เป็นไขมันอีกชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่ Cholesterol แต่ก็มีความสำคัญเช่นกัน พบว่ามีความสัมพันธ์กับโรค หัวใจขาดเลือด แต่ความสัมพันธ์นี้อาจไม่ "แรง" หรือ "ชัดเจน" เหมือน cholesterol นัก พบได้บ่อย มากในผู้ที่อ้วน เบาหวาน ดื่มสุราประจำ หรือมีโรคบางชนิดอยู่ด้วย ที่ว่าความสัมพันธ์กับโรคหัวใจไม่ ชัดเจนก็เพราะผู้ที่มีไขมันชนิดนี้สูง มักมีปัจจัยเสี่ยงข้ออื่นๆของโรคหัวใจรวมอยู่ด้วย อีกทั้งยังไม่มี การศึกษายืนยันว่าการลดไขมัน Triglycerides จะลดโอกาสเกิดโรคหัวใจขาดเลือด (แตกต่างจาก ไขมัน Cholesterol ที่มีการศึกษาแน่นอนว่าการลดระดับไขมัน Cholesterol ได้ประโยชน์ทั้งใน ผู้ที่ยังไม่มีโรคหัวใจ หรือ เกิดโรคหัวใจขึ้นแล้ว)
Lipoprotein a หรือ Lp (a)
เป็นไขมันที่เกาะรวมอยู่กับโปรตีน ซึ่งพบว่ามีความสัมพันธ์กับโรคหัวใจขาดเลือดเช่นเดียวกันกับ LDL-C โดยทั่วไปไม่นิยมส่งตรวจเนื่องจากราคาแพงและไม่สามารถทำได้แพร่หลาย
ค่าปกติของไขมันในเลือด
ความจริงแล้วไม่มีค่าปกติ ทั้งนี้เนื่องจากหากเอาผู้คนที่ปกติ แข็งแรงดีมาตรวจหาระดับ Cholesterol อาจพบว่าค่าเฉลี่ยมากกว่า 240 มิลลิกรัมต่อดล. ซึ่งถือว่าผิดปกติ ดังนั้นเราเรียกว่า "ค่าที่แนะนำ" จะเหมาะสมกว่า ค่าที่แนะนำนี้เปลี่ยนแปลงไปตามความรู้ทางการแพทย์ สมัย 10-15 ปีก่อน ถือว่า ไขมัน Cholesterol ไม่ควรเกิน 250 มิลลิกรัมต่อดล. แต่ความรู้ในปัจจุบันนี้เปลี่ยนแปลงค่านี้เป็น Total Cholesterol น้อยกว่า 200 มิลลิกรัมต่อดล.และ LDL-C น้อยกว่า 130 มิลลิกรัมต่อดล. ในผู้ที่ยังไม่เกิดโรค แต่สำหรับผู้ที่เกิดโรคหัวใจขึ้นแล้ว ควรรักษาให้ต่ำกว่านี้ คือ LDL-C ควรน้อยกว่า 100 มิลลิกรัมต่อดล. ในอีก 5 ปีข้างหน้าตัวเลขเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงไปอีกแน่นอน
สำหรับไขมัน Triglycerides แนะนำให้ต่ำกว่า 200 มิลลิกรัมต่อดล. และมีหลายท่านพยายามให้น้อย กว่า 150 มิลลิกรัมต่อดล. ซึ่งผมยังไม่เห็นด้วยนัก
การศึกษาเกี่ยวกับไขมัน Cholesterol สรุปได้ดังนี้
* Total Cholesterol, LDL-C สัมพันธ์กับภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง โรคหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตาย อัมพาต การเสียชีวิตจากโรคหัวใจ
* ไขมัน Cholesterol สูงตั้งแต่ยังอยู่ในวัยเด็ก หรือ วัยรุ่น มีโอกาสเกิดปัญหาจากโรคหัวใจ ขาดเลือดเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น
* การลดระดับไขมัน Cholesterol ได้ประโยชน์แน่นอน ทั้งในกรณีที่ยังไม่เป็นโรคหัวใจ และ เกิดโรคหัวใจขึ้นแล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่าจะได้ประโยชน์ทุกราย หรือ ทุกคน เราก็ไม่ ทราบว่าผู้ใดจะได้ประโยชน์ ผู้ใดจะไม่ได้ประโยชน์ ดังนั้นการรักษาจึงเป็นเรื่องของสถิติ ลดโอกาสเสี่ยงต่างๆลงเท่านั้น
* การควบคุมไขมันให้ต่ำ ช่วยลดโอกาสเกิดอัมพาต (stroke) ด้วย
* ในผู้ที่มีโรคหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดหัวใจตีบ ควรให้ไขมัน LDL-C ต่ำกว่า 100 มิลลิกรัม ต่อดล. เนื่องจากจะช่วยชลอการตีบของหลอดเลือด และ ช่วยให้แผ่นไขมันไม่แตกง่าย การแตก ของแผ่นไขมันทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย (heart attack)
* ในผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง การควบคุมอาหารอย่างเดียวสามารถลดไขมันได้น้อย และ มักจะ ไม่ได้ระดับที่ต้องการ
* การรักษาไขมันในเลือด เป็นการรักษาเพื่อหวังผลในระยะยาว หมายถึง ต้องควบคุมให้ไขมันใน เลือดต่ำอยู่ตลอดเวลา เป็นระยะเวลานาน อย่างน้อย 5 ปีขึ้นไป จึงจะได้ประโยชน์จากยา ดังนั้น การรับประทานยาไม่สม่ำเสมอ จะทำให้ไม่ได้ประโยชน์จากยา เสียค่าใช้จ่ายโดยเปล่าประโยชน์
* ยาที่ดีที่สุดสำหรับการลด LDL-C ในขณะนี้คือยากลุ่ม Statin ซึ่งมีหลายตัว ผลแทรกซ้อน จากยาต่ำมาก ยากลุ่ม Fibrate เช่น Gemfibrozil (Lopid) สามารถลด Triglycerides ได้ดี แต่สำหรับ LDL-C แล้วสู้กลุ่ม Statin ไม่ได้ ยา Cholestyramine (Questran) สามารถลด LDL-C ได้ดีเช่นกัน แต่รับประทานยาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่สามารถรับประทานได้นานๆ